วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไปพม่ากับ วธว สิครับ...ดาวดวงใหม่ไฟแรงฝุดๆ

พม่า...ดาวดวงใหม่ไฟแรงฝุดๆ

พม่าประกาศเปิดประเทศอย่างจริงจังตั้งแต่ กค 2011 เป็นต้นมา ผลที่ตามมาอย่างชัดเจนนั่นคือการหลั่งไหลของบรรดานักลงทุนที่พากันเข้าไปจับจองพื้นที่ทำมาหากิน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพื้นดินแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่รวมไปถึงการปักธงสร้างแบรนด์ของตัวเองอีกด้วย
วงศ์ธนาวุฒิ ร่วมกับ UBM ในการเข้าร่วมงาน Intermach Myanmar OCT 24th -26th 2013 ที่ Tadmadow Exhibition Hall Yangon. ผลตอบรับที่ได้นั้นออกมาดีเกินคาด พม่ามีความต้องการด้านการผลิตสาธารณูปโภคพื้นฐานมากพอสมควร ทักษะแรงงานและ Know How ในพม่านั้นยังมีจำกัดอยู่ในวงแคบ ในขณะที่ความต้องการผลิตนั้นถาโถมกันเข้ามาแบบไม่หยุดยั้ง ...เด็กกำลังโต อะไรก็อยากกินไปหมด
 เสน่ห์ที่น่าสนใจของพม่าเมื่อเทียบกับเวียดนามนั้นมีข้อแตกต่างที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง ปัจจุบันอัตราการเติบโตในเวียดนามนั้นเริ่มชะลอตัวลง เพราะด้วยเหตุแห่งการแข่งขันที่สูงมากจนทำให้ Margin ของภาคธุรกิจนั้นแทบจะไม่เหลือ หลายคนจึงถดทอยและไม่สามารถสร้างผลงานที่ต่อยอดในเชิงคุณภาพได้ และมักจะถูกผิดนัดชำระกันอยู่บ่อยครั้งด้วยความตึงตัวของภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่พม่านั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม
ธุรกิจในพม่ากำลังต้องการการปรับปรุงด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างมาก เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลพม่านั้นไม่ได้ทุ่มเทงบประมาณไปที่การพัฒนาในส่วนนี้เสียเท่าไหร่ ความต้องการด้าน Infrastructure จึงได้รับความนิยมอย่างแรง อานิสงค์ตกมาเต็มๆ สำหรับผู้ขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ถังบำบัดน้ำเสีย เครื่องมือและอุปกรณ์การก่อสร้าง เครื่องจักรงานก่อนสร้าง หรือแม้กระทั้งธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ที่พม่าเพิ่งเปิดเสรีให้มีการนำรถยนต์เก่าเข้าประเทศได้ และในระยะเวลาเพียง 2 ปีที่ผ่านมาทำให้รถในย่างกุ้งมีมากถึงเกือบล้านคัน และการจราจรกำลังเป็นปัญหาหลักที่รัฐยังตามแก้ไขกันไม่ทันในทุกวันนี้
ท่าน AYE TUN, Joint Secretary แห่ง Myanmar Industries Association ได้ให้ข้อมูลว่าจากตัวเลขการเติบโตที่ผ่านมา ในปี 2012 พม่าโตถึง 7.6% และมีแนวโน้มจะโตมากขึ้นเรื่อยๆ บนฐานประชากร 60 ล้านคน ที่กระจายตัวอยู่ใน 7 รัฐ 7 มณฑล นี้ หนาแน่นสุดอยู่ที่ย่างกุ้ง 4 ล้านคน รองลงมาคือ แมนดาเลย์ พม่าตั้งใจใช้นโยบาย Total Reform นั่นคือพยายามปรับโครงสร้างทุกอย่างใหม่ทั้งหมด เพราะได้มองเห็นแล้วว่าตลอดเวลาที่ถูกคว่ำบาตรนั้น รัฐแทบไม่มีรายได้มาจุนเจือตัวเองและประชากรอย่างเพียงพอ เมื่อเปิดประเทศ รัฐจึงเน้นที่จะทำธุรกิจจากการขายและแประรูปทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เสียก่อน อาทิเช่น Natural Gas ไม้สัก และการทำเหมืองต่างๆ พม่ายังต้องการความช่วยเหลือด้านการลงทุนจากผู้ที่สนใจอีกมาก จึงออกระเบียบการลงทุนที่คล้ายๆ กับ BOI แต่อาจมีบางรายการที่น่าดึงดูดกว่าอาทิเช่น การให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ยาวนานถึง 50 ปี และสิทธิพิเศษทางภาษีและการนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ ค่าแรงที่พม่าตอนนี้เฉลี่ยอยุ่ที่ประมาณ KARTs 80,000 ต่อเดือน หรือประมาณ  2,400 บาท ณ เวลาปัจจุบัน (อัตราแลกเปลี่ยนยังมีความผันผวนสูง) สิ่งที่น่ายินดีสำหรับเราขาวอุตสาหกรรมการผลิตคือพม่ายังมองไม่เห็นว่า Manufacturing Industry นั้นควรได้รับการสนับสนุนอยู่ในลำดับแรกๆ เพราะเขายังให้ความสำคัญกับการค้าทรัพยากรพื้นฐานอยู่ นั่นหมายความว่าเมื่อพม่าหันมาเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างจริงจัง เวลานั้นก็จะมีนานาอารยประเทศแห่กันเข้ามามากมายเพราะเขารอฟังเพียงสัญญาณไฟเขียวเท่านั้น เรียกได้ว่ายิ่งไกลก็ยิ่งกลัว เราได้เปรียบอยู่ใกล้กว่ามีโอกาสคว้าทำเลและเงื่อนไขดีๆ ร่วมกับคู่ค้าผู้บุกเบิกหลายราย
ปัจจุบันการพัฒนาทางสถาบันการเงินของพม่านั้นถือว่ายังต้องมีอีกหลายส่วนที่ต้องทำ ธนาคารพาณิชย์ไทยที่เข้าไปประจำการมีสาขาอยู่ที่พม่านั้นสามารถทำหน้าที่ด้านที่ปรึกษาการลงทุนให้กับผู้ที่สนใจมาสร้างหลักปักธงกันอย่างจริงจังในดินแดนบุเรงนองแห่งนี้เท่านั้น ยังไม่สามารถอำนวยความสะดวกด้านธุรกรรมทางการเงินได้แม้แต่อย่างเดียว การชำระเงินระหว่างประเทศจึงต้องเป็นไปตามกำลังศรัทธา ใครศรัทธากันมากก็จ่ายก่อนมา น้อยก็ว่ากันตามตัวเลขไป เหนื่อยกันหน่อยแต่ดูแล้วมีอนาคตจริงๆ
ถามว่าคนพม่าไว้ใจได้ไหม เมื่อพูดกันถึงเรื่องสิ่งที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายนั้น ไม่มีใครการันตีให้ใครได้ถ้าเล่นเกมบนกติกาบ้านเมืองที่เป็นที่ยอมรับของศาลโลก แต่จากเท่าที่ผมได้สัมผัสมา นักธุรกิจพม่าส่วนใหญ่ใจบุญกว่าคนรวยบ้านเราเยอะแยะ เขาดำเนินชีวิตบนหลักคิดทางศาสนา การให้คือหัวใจของความสำเร็จ คนที่นี่น่าคบและจริงใจกว่าที่คุณจะจินตนาการได้ ใครที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีสามารถมาแขร์ให้ฟังกันได้นะครับ จะได้มีข้อมูลกันมากขึ้น
สรุปว่าทำอย่างไรดีถ้าอยากทำตลาดกับพม่า ผมแนะนำว่าเราค่อยๆ เข้าไปแบบพ่อค้าก่อนจะดีที่สุด นำสินค้าไปเสนอขายกับ Agent ผู้ชำนาญตลาด เปิดตัวแบรนด์ของเราให้เป็นที่ประจักษ์ ทักษะนี้อยู่ที่ว่าใครจะทำการตลาดและมีเทคนิคของการสื่อสารได้ดีกว่ากัน คนพม่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ของไทยเป็นอย่างดี แน่นนอนว่าราคาก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ หากแต่ถ้าคุณภาพนั้นเหนือกว่าคู่แข่งอย่างจีนแล้ว เราย่อมมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์มากมายหลายประการ และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยหลายคนที่ร่วมจัดงานออกแสดงกับเราในครั้งนี้ล้วนพูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่าที่นี่น่าลงทุนจริงๆ ขายอะไรก็รวย ปัจจุบันวงศ์ธนาวุฒิ ได้ยื่นเอกสารของจัดตั้งบริษัทจัดรับงานแปรรูปโลหะในประเทศพม่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เถ้าแก่น้อยใหญ่หลายท่านต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะจับมือกันเดินไปเป็นขบวน รับงานที่เป็นงานฝีมือจากพม่ามาผลิต ไม่ว่าจะเป็น Job Shop ขนาดใหญ่ งานอุตสาหกรรมปริโตรเลียม งานฉีดพลาสติกขึ้นรูป งานท่อน้ำและประปา ฯลฯ ใช้เงินลงทุนในการทำออฟฟิศและจ้างเซลไม่มากครับ มารอดูกันต่อไปว่าใครจะได้เป็นดาวดวงใหม่ในตลาดใหญ่ใกล้บ้านเรานี่เอง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการขายงานของท่านในประเทศพม่าเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เครื่องจักรบางบอน โดย วงศ์ธนาวุฒิ โทร. +66.2.899.6374 หรือ +66.86.308.0698
85 ถ.กาญจนาภิเษก แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150
Bangbon Machinery Center by Wongtanawoot
Email : 
WebSite :
FaceBook :
Twitter :
YouTube :

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น