วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

อยากดูโหงวเฮ้งประเทศ ไม่ต้องไปดูไกล เอาตัวเลขสองชุดนี้ไปใช้ แม่นยิ่งกว่าหมอแมะขั้นเทพเสียอีก




อยากดูโหงวเฮ้งประเทศ ไม่ต้องไปดูไกล เอาตัวเลขสองชุดนี้ไปใช้ แม่นยิ่งกว่าหมอแมะขั้นเทพเสียอีก

นักอุตสาหกรรมทั้งหลายมีความคิดอย่างไรบ้างกับความสัมพันธ์ของค่าแรงขั้นต่ำเทียบกับระดับรายได้ต่อหัวของคนทั้งประเทศ

ถูกต้องที่สุดคับ มันสัมพันธ์กันชนิดที่เรียกได้ว่าแกักันไม่ออกเหมือนแฝดเกิดมาตัวติดกันยังไงยังงั้น

วงศ์ธนาวุฒิขอเทียบกรณีศึกษาเบาๆ ระหว่างไทย - มาเลเซีย

ค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นรายได้หลักของประชากรส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศ สังเกตุได้ว่าค่าแรงของไทยแพงกว่าของมาเลเซีย 20%

หากต้นทุนของค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับ 5% ของราคาสินค้า พูดง่ายๆ ว่าถ้าปัจจัยอื่นๆ ทัดเทียมกัน ราคาสินค้าจากมาเลเซียย่อมถูกกว่าไทย 5% นี่คือปัจจัยการแข่งขันข้อแรก

มาดูรายได้ต่อหัว per capita income ถึงแม้มาเลเซียมีรายได้ GDP รวมน้อยกว่าไทย แต่รายได้ต่อหัวสูงกว่า 60% นั่นอาจบอกได้ว่ามาเลเซียมีประสิทธิผลจากการดำเนินการมากกว่าไทยถึง 60% ข้อสองนี้บอกใบ้มาลางๆ ว่า ราคาสินค้าของเขาต่ำกว่าแต่ประสิทธิผลจากการผลิตนั้นมากกว่าประเทศไทยเยอะเลยทีเดียว

แล้วอนาคตจะเป็นยังไง?
ลองมาดูอัตราการเติบโตของรายได้มวลรวมทั้งประเทศ ปี 2017 มาเลเซียเติบโต 5.4% เทียบกับปีก่อน ในขณะที่ไทยโตเพียง 3.9% เท่านั้น แปลว่าผลผลิตของมาเลเซียมีต้นทุนต่ำกว่าไทย 5% ผลิตสินค้ที่แปลงเป็นรายได้ ได้มากกว่าไทย 1.6 เท่า และตัวเลขนี้จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง เพิ่มความต่างไปมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตรากรเติบโตของ GDP

ถ้าเขาโตจนเต็มพื้นที่ เขาก็มาลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านต่อเนื่อง ซื้อที่ดิน ซื้อกิจการ เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และอื่นๆ เรื่อยไป มันอาจจะดี ถ้าเรากับเขาพอฟัดพอเหวี่ยงกัน แต่ถ้าตัวเลขมันต่างกันไปเรือยๆ ทุกปี เราก็อาจเป็นหมูให้เขามากินกันอยู่ร่ำไป

ลองทำตัวเลขชุดนี้เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ แล้วคุณจะค้นพบว่าในฐานนะผู้ประกอบการที่มีพลังคนหนึ่ง คุณจะช่วยกู้ชาติกลับมาให้ลูกหลานได้มีแผ่นดินทำกินในอนาคตได้อย่างไร

#gdp #ไทยยังมีหวัง #พึ่งคุณนี่แหละ #พัฒนาคน #ร่วมมือกัน #วงศ์ธนาวุฒิ #ลดค่าแรงไม่ได้แต่เพิ่มฝีมือและนวัตกรรมได้ #เพิ่มฝีมือไม่ทันแต่ใช้เวลาและทรัพกรให้คุ้มค่ายังไงก็ทัน #อย่าขายแต่ในบ้าน_มองตลาดโลก #หาpartnerที่เติบโตร่วมกันได้ #ส่งคนไปเรียนอย่ากลัวคนลาออก

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนางานแปรรูปโลหะแผ่น
โดย วงศ์ธนาวุฒิ โทร. +66.2.899.6374 หรือ +66.86.308.0698

85 ถ.กาญจนาภิเษก แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150
Sheet Metal Smart Factory By WONGTANAWOOT
Line ID : @pcb-bangkok (มี @ ด้วยนะคะ)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น